วิทยาลัยการอาชีพดอนตาล
117 หมู่ 11  ตำบลดอนตาล  อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 49120
เบอร์โทรศัพท์ 0-4204-0178
ข้อมูลด้านวิสัยทัศน์
ส่วนที่ 1 ข้อมูลด้านวิสัยทัศน์

ส่วนที่ 1

ข้อมูลด้านวิสัยทัศน์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

วิสัยทัศน์วิทยาลัยการอาชีพดอนตาล

และประวัติสถานศึกษาโดยสังเขป


ประวัติความเป็นมาของวิทยาลัยการอาชีพดอนตาล

ชื่อสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพดอนตาล

ชื่อภาษาอังกฤษ DONTAN INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGE

วิทยาลัยการอาชีพดอนตาล สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดมุกดาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 117 หมู่ 11 ถนนดอนตาล-ชานุมาน บ้านตาลใหม่ ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 49120 โทรศัพท์ 042-040178 โทรสาร 042-040178 เว็บไซต์ http://www.dtic.ac.th อีเมล dttm6601@gmail.com เดิมเป็นสถานที่เรียนและฝึกปฏิบัติ (ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการเกษตรดอนตาล) ของนักศึกษาประเภท วิชาเกษตรกรรม หลักสูตร ปวช.และ ปวส. และจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร แก่เกษตรกรในชุมชนและผู้ที่สนใจของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหารสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ หนองกลางโคก ตามเอกสารสิทธิ์ หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ 5246 ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 117 หมู่ที่ 11 บ้านตาลใหม่ ต.ดอนตาล อ.ดอนตาล (เดิมสังกัดนครพนม)มีพื้นที่ประมาณ 1,316 ไร่ ปัจจุบันขอใช้พื้นที่ประมาณ 585 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา ปีงบประมาณ 2534 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กรมอาชีวศึกษาเดิม) ได้จัดงบประมาณงบลงทุนที่ดินสิ่งก่อสร้าง ระบบสาธารณูปโภคบางส่วนตลอดจนหน่วยงานราชการ ได้ให้การสนับสนุนการ พัฒนา พื้นที่เช่นการพัฒนาแหล่งน้ำ การจัดฝึกอบรม ด้านปศุสัตว์ ประมง เป็นต้น ประกอบด้วยอาคารเรียน 1 หลัง อาคารโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 5 หลังอาคารประกอบอื่นฯ 5 หลัง บ้านพัก นักศึกษาเกษตร 10 หลัง ห้องน้ำ โรงอาหาร ซึ่งอาคารส่วนใหญ่มีสภาพชำรุดควรได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมในปีงบประมาณ 2552 กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มีนโยบายจัดตั้ง สถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อรองรับการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา และตามความต้องการของประชาชน จำนวน 11 สถานศึกษา ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 17 ธันวาคม 2551 โดยนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น โดยในปีงบประมาณ 2553 ได้งบประมาณสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์ พื้นที่ 1,500 ตรม. จำนวน 1 หลัง อาคารศูนย์วิทยบริการ พื้นที่ 1,088 ตรม. จำนวน 1 หลัง และโรงเรือนระบบปิด/คอกสัตว์/โรงนม พื้นที่ 2,040 ตรม. จำนวน 1 หลัง ปีงบประมาณ 2554 ได้รับงบประมาณสิ่งก่อสร้างบ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หลัง และระบบ ประปาหอถังสูง จำนวน 1 ชุด ได้เปิดทำการสอน เมื่อเดือน พฤษภาคม 2551 โดยเปิดสอนใน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 2 ประเภทวิชา ได้แก่ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างยนต์ และประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ โดยรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) จากโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนขยายโอกาสในพื้นที่บริการ เขตอำเภอดอนตาล และเขตอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ นอกจากนั้นยังให้บริการทางวิชาชีพกับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษา และเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้กับประชาชนทั่วไป ทั้งภาคในเวลาราชการและภาคนอกเวลาราชการในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น “วิทยาลัยการอาชีพดอนตาล” ซึ่งเดิมชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการดอนตาลนั้น เนื่องจากได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2564 เรื่องการเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนตามความเชี่ยวชาญและบทบาทภารกิจของสถานศึกษา ทั้งเพื่อให้สามารถจัดการอาชีวศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนาคุณภาพในด้านทักษะฝีมือเพื่อให้ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กระทรวงศึกษาธิการ จึงให้เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน ๒๕ แห่ง

 

2. ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ค่านิยม อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์

ปรัชญา (Philosophy)

พัฒนาคน พัฒนางาน สร้างสรรค์สังคม

วิสัยทัศน์ (Vision)

บริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศสอดคล้องความต้องการของตลาดแรงงาน ตามหลัก ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี

พันธกิจ (Mission) เป้าประสงค์ (Goal) และ กลยุทธ์ (Strategy)

พันธกิจที่ 1

จัดการเรียนการสอนและฝึกอบรมวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีให้มีคุณภาพ และได้

มาตรฐานการอาชีวศึกษา : ผู้เรียนมีทักษะด้านวิชาชีพ

เป้าประสงค์

1. พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะร่วมกับสถานประกอบการ

2. พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับตลาดแรงงาน

3. พัฒนาอาชีพให้กับชุมชน ประชาชน ผู้สนใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กลยุทธ์

1. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะร่วมกับสถานประกอบการ

2. การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมสอดคล้องกับตลาดแรงงาน

3. การพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน ประชาชน ผู้สนใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

พันธกิจที่ 2

พัฒนาศักยภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะตามสาขาวิชาชีพ

เป้าประสงค์

1. พัฒนาครูผู้สอนให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

2. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

กลยุทธ์

1. การพัฒนาครูผู้สอนให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

2. การพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

พันธกิจที่ 3

ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนและครูบุคลากรสร้างนวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน

เป้าประสงค์

1. พัฒนานักเรียน นักศึกษาให้มีทักษะสอดคล้องตามทักษะในศตวรรษที่ 21

2. บริหารจัดการสถานศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กลยุทธ์

1. การพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้มีทักษะสอดคล้องตามทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

2. การบริหารจัดการสถานศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

พันธกิจที่ 4

ขยายโอกาสทางการศึกษา และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน สถานประกอบการ ในการจัด การศึกษา และบริการวิชาชีพอย่างทั่วถึง ต่อเนื่องและเสมอภาค

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนได้เรียนสาขาวิชาชีพตามความต้องการ

2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน สถานประกอบการ

3. เพิ่มปริมาณผู้เรียนให้ได้ตามจำนวนที่กำหนด

กลยุทธ์

1. การแนะแนวการศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลายให้นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครองที่สนใจได้เรียนสาขาวิชาชีพตามความต้องการ

2. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน สถานประกอบการ

3. การจัดห้องเรียนอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา และการสอนอาชีพระยะสั้นให้กับชุมชน

พันธกิจที่ 5

พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะให้ทันการเปลี่ยนแปลง (new s-curve)

เป้าประสงค์

1. พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะให้ทันการเปลี่ยนแปลง (new s-curve) ร่วมกับ

สถานประกอบการ

2. ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน

3. ผู้เรียนได้เรียนสาขาวิชาชีพตามความต้องการ

กลยุทธ์

1. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะให้ทันการเปลี่ยนแปลง (new s-curve) ร่วมกับสถานประกอบการ

2. การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนร่วมกับสถานประกอบการ

พันธกิจที่ 6

พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับการบริหารและการจัดการเรียนการสอน

เป้าประสงค์

พัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการบริหารงาน

กลยุทธ์

การพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในสถานศึกษา

ค่านิยม

รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัย รับใช้สังคม

 

อัตลักษณ์

ใช้วิชาเพื่อบริการงานสังคม (Knowledge and Morality Service) หมายถึง วิทยาลัยการอาชีพดอนตาล มุ่งพัฒนานักเรียนนักศึกษา ให้มีอัตลักษณ์ในการบริการวิชาชีพด้วยความรู้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

เอกลักษณ์

สถานศึกษาพอเพียง (Sufficiency education institution) หมายถึง การส่งเสริมการสร้างและบูรณาการความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน ภายใต้ทรัพยากรที่มีด้วยจิตบริการตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์

อัตลักษณ์คุณธรรม

จิตอาสา มีวินัย หมายถึง คุณธรรมอัตลักษณ์ ที่ได้ประกาศใช้ในการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาคุณธรรม โดยบุคลากร นักเรียน นักศึกษา มีการดำเนินกิจกรรมภายใต้คุณธรรมอัตลักษณ์

3. จุดเน้นในการพัฒนาสถานศึกษาและความโดนเด่นของสถานศึกษา

จุดแข็ง (Strengths) /สภาพแวดล้อมภายใน

1. ผู้บริหารครูบุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา มีการนิเทศติดตามการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการ PDCA และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้ E- port Folio

2. มีข้อมูลสารเทศที่เป็นปัจจุบัน ประยุกต์ใช้ Applicationต่างๆในการปฏิบัติงานเช่น การรายงานการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ผ่าน Google Form

3. มีแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชา ผ่าน Google Form

4. ผู้เรียนได้รับรางวัลสมาชิกองค์การเกษตรกรฯดีเด่นระดับชาติ และรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ โครงการชีววิถีฯ

5. ครูบุคลากรผ่านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพทุกคน

6. ครูมีการจัดการเรียนการรู้ผ่านสื่อแพลตฟอร์มต่างๆอย่างหลากหลาย

Adobe Acrobat Document ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 59.53 KB